– หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
– เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
– เอกสารยืนยันสิทธิค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
นอกจากเตรียมเอกสารเพื่อยื่นภาษีแล้ว จะต้องเตรียมเงินเพื่อชำระเงินภาษี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามกฎหมายสรรพากร ดังนี้
ยื่นเกินกำหนดปรับ 2,000 บาท
กรมสรรพากร ระบุว่า เตือนเรื่องค่าปรับกรณียื่นแบบเมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังนี้
บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91
– ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้
ทั้งนี้ หากไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเพียงค่าปรับอย่างเดียว
สำหรับผู้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ มีเงื่อนไขการชำระเงินและเสียค่าปรับดังนี้
– กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
– กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ
จงใจไม่ยื่นแบบ มีโทษปรับ-เสียเงินเพิ่ม
หากตั้งใจละเลยไม่ยื่นแบบภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ รวมถึงต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี โดยเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน
จงใจแจ้งข้อความ-แสดงหลักฐานเท็จ ฉ้อโกง
กรณีที่ผู้มีรายได้ได้ยื่นแบบภาษี และจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จ หรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ
ทั้งนี้ ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี โดยเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน